การหันเหคดี โดยใช้มาตรการพิเศษแทน การดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง

21 ธ.ค. 2560 09:48 น. 32,171 ครั้ง

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจสำคัญในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพ
เด็ก เยาวชน ผู้เยาว์และครอบครัวที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และส่งเสริมการใช้กระบวนการยุติธรรม
ทางเลือกและมาตรการอื่นๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเบี่ยงเบนคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดออก
จากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ถือเป็นการลบรอยมลทินและเป็นการให้โอกาสแก่เด็กและเยาวชนได้
กลับตัวเป็นคนดี สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อีกครั้ง
การใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาและการหันเหคดี (Diversion) เป็นการใช้กระบวนการ
ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (RestorativeJustice) มีจุดมุ่งหมายไปที่การผันเด็กออกจากกระบวนการยุติธรรมทาง
อาญา โดยให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการเบี่ยงเบนคดีเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้น
สอบสวนตลอดจนชั้นก่อนฟ้อง มีกรอบแนวทางปฏิบัติสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ข้อกำหนดทางกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
2. ข้อกำหนดในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (United Nations Convention on
the Rights of the Child : UNCRC) ซึ่งเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้
สัตยาบันแล้วในปี พ.ศ. 2535
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นแนวคิดที่มองว่าการกระทำผิดอาญาก่อให้เกิดผลกระทบ
ความเสียหาย ทำลายสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลและความสมานฉันท์ในสังคม จึงจำเป็นต้องมีการเยียวยา
ฟื้นฟูด้วยการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้รับการชดเชยเยียวยาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งจะช่วยให้ผู้กระทำผิดได้
มองเห็นมูลเหตุและผลกระทบอันเกิดจากการกระทำของตนเองและได้แสดงความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น
และยังเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ชุมชนในสาเหตุเบื้องหลังของอาชญากรรมอันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดสวัสดิ
ภาพของชุมชนและการป้องกันอาชญากรรมอีกด้วย
หลังจากที่กรมพินิจฯ จัดทำโครงการ “การเพิ่มการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในเด็ก
และเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่ง
สหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งได้ดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2559 มีการจัดทำคู่มือการ
ปฏิบัติงานมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มาตรา 86 ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขและให้
ความสำคัญต่อการเพิ่มการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา โดยการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน
/ได้รับ..
2
ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคืนสู่สังคมโดยไม่ถูกดำเนินคดี นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนและการคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหาย จากการดำเนิน
มาตรการดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายในการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ อัยการฝายคดีเยาวชนและครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัว และสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
และเยาวชน ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะต้องสร้างความเข้าใจต่อกระบวนการใช้มาตรการพิเศษที่แตกต่างกัน โดย
การจัดประชุมเพื่อสร้างการรับรู้และแนวทาง รวมไปถึงการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จึงเป็นที่มาของการดำเนิน
โครงการ “การเพิ่มการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการ
ยุติธรรมระยะที่ 2” โดยมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งในการประชุม
ดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงสร้างการรับรู้ถึงกระบวนการ
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องให้กับสาธารณชน การประเมินผลจากการนำมาตรการ
พิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องไปใช้ และการหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ร่วมกันใน
การประสานความร่วมมือในการจัดทำแผนตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องต่อไป
ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด รองผู้
บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดที่รับผิดชอบงานด้านการสอบสวน ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เจ้าหน้าที่ประสาน
การประชุมแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ตามมาตรการพิเศษแทน
การดำเนินคดีอาญา จำนวน 40 จังหวัดทั่วประเทศ และหลังจากนี้จะได้มีการจัดประชุมทบทวนการใช้
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องและนิเทศกำกับติดตามพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด จัด
ประชุมนำเสนอผลการปฏิบัติงานการใช้มาตรการพิเศษฯ และเครือข่ายความร่วมมือ 40 จังหวัด การจัดทำวีดี
ทัศน์สารคดีชีวิตเด็กและเยาวชนจากโครงการฯ การประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการ ตลอดจนการรวบรวมสรุป
ข้อมูลและจัดทำรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้องและสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการเพื่อนำเสนอผู้บริหารต่อไป
โดยความมุ่งหวังว่าจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำหลักการใช้มาตรการพิเศษฯ ไปใช้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการเพิ่มการใช้มาตรการพิเศษฯ มากขึ้น ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล และคาดหวัง
ถึงการมีแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการนำมาตรการพิเศษฯ ดังกล่าวไปใช้ อีกทั้งให้สาธารณชน
รับรู้ถึงกระบวนการดังกล่าว ที่สำคัญเราคาดหวังว่าเด็กและเยาวชนจะได้รับโอกาสในการกลับตนเป็นคนดีไม่
กลับไปกระทำผิดซ้ำอีก ลดความเสี่ยงที่เด็กและเยาวชนจะได้รับความรุนแรงจากการเข้าสู่กระบวนการ
ยุติธรรม

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด

ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด

ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด