สกธ.เสนอ RIA และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อพิจารณาศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526

6 พ.ย. 2563 22:33 น. 255 ครั้ง

 

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.45 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สผ.) อาคารรัฐสภา นางขัตติยา รัตนดิลก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม และคณะเข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อพิจารณาศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ตามที่สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) เสนอ โดยมี นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ เป็นประธานในการประชุมดังกล่าว และมีผู้แทนจากสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และสภาทนายความ เข้าร่วมประชุม
ในที่ประชุม สำนักงานกิจการยุติธรรมได้นำเสนอภารกิจของหน่วยงานในกรณีการศึกษาวิจัย และวิเคราะห์ถึงผลกระทบในการออกกฎหมายก่อนที่จะมีการตรากฎหมาย (RIA: Regulatory Impact Assessment) รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้กฎหมาย (Ex Post Evaluation) โดยได้มีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเพื่อนำมาใช้ประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติการการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 โดยได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผลจากการรับฟังความคิดเห็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ซึ่งหากจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว จะต้องมีกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้กฎหมาย (Ex Post Evaluation) ว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและสังคมโดยรวมอย่างไรบ้าง โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านก่อนที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ต่อไป

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด

ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด

ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด

อัลบั้มรูปภาพ