กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 312 : ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีของเราแบบไหนให้กรมสรรพากรบ้าง?
กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีของเราแบบไหนให้กรมสรรพากรบ้าง?
ภาษีอีเพย์เมนต์ (e – Payment) ได้ประกาศบังคับใช้แล้วกับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านขายออนไลน์ โดยสถาบันการเงินจะต้องส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป เงื่อนไขของการส่งข้อมูล คือ ทุกบัญชีที่มีธุรกรรมภายในบัญชี ฝาก/รับโอนเงิน 3,000 ครั้ง ขึ้นไปต่อปี หรือจำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 400 ครั้ง ขึ้นไปต่อปี และมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาท ต่อปี
รายการฝาก/รับโอนเข้าบัญชีแบบไหนบ้าง ?
1. ยอดเงินฝากเข้าบัญชี
2. ยอดรับโอนเงิน
3. ยอดเงินฝากเช็คเข้าบัญชี
4. ยอดจากดอกเบี้ย
5. ยอดจากเงินปันผล
ข้อแนะนำสำหรับร้านค้าออนไลน์
1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อแจกแจงรายละเอียดในแต่ละธุรกรรมของธุรกิจ
2. ขอใบกำกับภาษีในการซื้อมาขายไปทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานเมื่อทำการยื่นภาษี
3. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายแยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีที่ใช้ทำธุรกิจ
4. ศึกษาข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับภาษีออนไลน์
ภาษีอีเพย์เมนต์ (e – Payment) ถูกบังคับใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าออนไลน์เท่านั้น ถ้าเราเตรียมพร้อมรับมือโดยจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหาตัวช่วยเพื่อดูสถิติยอดขายรายเดือนหรือเลือกช่วงเวลาที่ต้องการ พร้อมทั้ง บอกยอดรับโอนของแต่ละบัญชีได้ เพียงเท่านี้ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลแล้วกับการโดนตรวจสอบภาษีจากสรรพากร
ข้อมูลจาก : กฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ และ Page 365
เอกสารแนบ